หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 1 ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

  ความหมายของคำว่าข้อมูลกับสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)
ข้อมูล(Data or Raw Data)หมายถึง ข้อเท็จจริง (Fact)ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะ   
 หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง
        สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (Process)เพื่อให้ได้
ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี
         "เทคโนโลยี" มีความหมายมาจากคำ 2 คำคือ "Technique" ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า "Logic" ซึ่งหมายถึง ความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันแล้ว จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับ อย่างมีรูปแบบ และขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว
(Speed)ความน่าเชื่อถือ(Reliable)ความถูกต้อง
(Accurate)ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
               พิวเตอร์  หมายถึง อุปกรณ์ทาง อิเล็คทรอนิคที่สามารถทำการกำหนดชุดคำสั่ง(Programmable)ในการนำข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เกิดประโยชน์และนำสารสนเทศเหล่านั้นเก็บและนำมาใช้ต่อไปได้ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ ส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process)ส่วนแสดงผล(Output)และส่วนเก็บข้อมูล (Storage)
พัฒนาการของสารสนเทศและเทคโนโลยีสู่ยุคดิจิตอล
ยุคดิจิตอล    พัฒนาการจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานมาก กว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่เราท่าน ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน
                ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เช่น เมื่อเราไปฝาก หรือ ถอนเงินจากธนาคารทุกแห่งในขณะนี้ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เราก็น่าที่จะเริ่มเรียนรู้อย่างมีระบบจากง่ายและนำพาตัวเราไปสู่การเรียนรู้ที่เข้าใจเทคโนโลยีอย่างมีการค้นคิดที่มากขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อที่เราจะได้ก้าวไปเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเทคโนโลยีได้ต่อไป
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษา
การนำเทคโนโลีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ เราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา ราชการ และในเชิงพาณิชย์
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศการเรียนรู้สารสนเทศจากอินเตอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนชีวิตผู้คนให้มีลักษณะเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น มีการพูดคุยและสื่อสารกันโดยผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีผลทั้งทางลบและทางบวก ในทางบวกนั้น เราจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น แต่ก็มีผลในทางลบด้วยเช่นกัน หากข้อมูลบางอย่างนั้นเป็นภัยทั้งแก่ครอบครัวและประเทศชาติ อินเตอร์เน็ตเป็นทั้งแหล่งความรู้และแหล่งอบายมุกไป พร้อม ๆ กัน เหมือนดาบสองคม ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์จึงมักขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หรือขึ้นอยู่กับการชักนำไปว่าจะใช้ในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่ ซึ่งการที่เด็กของเราจะรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับการดูแลอย่างใกล้ชิดของทั้งสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาในอันที่จะร่วมมือกันอย่างจริงจัง

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

บทที่4  วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

   นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาจนกระทั่งปัจจุบัน เราสามารถ
แบ่งยุคของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุคต่างๆ ได้ 5 ยุค โดยพิจารณาจาก
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์
         คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1951 - 1958 เป็น
คอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuun Tube) ขนาดใหญ่ ต้องใช้พลังงาน
ไฟมากในการทำงานการใช้งานยาก ราคาแพง
        คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1959 - 1964 เป็น
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอรที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ นำมาใช้
แทนหลอดสุญญากาศทำให้คอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในช่วง ค.ศ 1965 - 1971 เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างจาก
อุปกรณ์ ที่เรียกว่าวงจรรวม (Integrated Circuit) วงจรรวมเป็นวงจรที่นำเอาทรานซิสเตอร์หลายๆ
ตัวมาประดิษฐ์รวามบนชิ้นส่วนเดียวกัน ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง และราคาก็ถูกลงกว่าเดิม
        คอมพิวเตอร์ยุึคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1972 - 1980 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร
รวมขนาดใหญ่ขึ้นที่รวมการทำงานของทรานซิสเตอร์จำนวนมากขึ้นไว้บนชิ้นส่วนเดียว ทำให้คอมพิวเตอร์
มีขนาดเล็กลงเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เราเห็นกันทั่้วไป
        คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานตั้งแต่้ ค.ศ 1981 จนถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคนี้
ได้พัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้มาก ทั้งขนาดคุณภาพ ประสิทธิภาพ
ความสะดวกและความหลากหลายในการใช้งาน เช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
เป็นต้น และความสามารถอีกหลายอย่างที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เช่น การรับรู้คำสั่งด้วยเสีัยงพูดหรือ
ประโยคที่เป็นภาษามนุษย์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้คิดตัดสินใจเช่นเดียวกันมนุษย์ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ข้อมูลและสารสนเทศ

บทที่ 2 ข้อมูลเเละสารสนเทศ

ข้อมูล

                ข้อมูล (data) คือ    ข้อเท็จจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ภาพ  เสียง  วีดิโอ  ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ที่เราสนใจ ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล เป็น การเริ่มต้นในการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดี จะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร การใช้เครื่องวัดต่าง ๆ การใช้ดาวเทียม การออกแบบสอบถาม ฯลฯ สารสนเทศ                สารสนเทศ (Information) หมายถึง  ข้อมูล หรือ สิ่งซึ่งได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ หรือ สารสนเทศ หมายถึง   ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์    ดังนั้น  สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง  เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  โดยอาจเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ดังนี้       ข้อมูล                                  การประมวลผล                        สารสนเทศระบบสารสนเทศ

                สารสนเทศแบ่งออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น ดังนี้

1.  สารสนเทศที่ทำประจำ       
2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย
3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จำทำขึ้นโดยเฉพาะ

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

1. บุคลากร 
2.  ขั้นตอนการปฏิบัติ              
3. เครื่องคอมพิวเตอร์
4. ซอฟต์แวร์               
5. ข้อมูล

ประเภทของข้อมูล

การแบ่งประเภทของข้อมูล อาจแบ่งได้หลายวิธีแล้วแต่จุดประสงค์ของการแบ่งนั้น  ถ้าแบ่งตามการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งประเภทของข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ
ข้อมูลปฐมภูมิ         กับ     ข้อมูลทุติยภูมิ                                                                  ข้อมูลปฐมภูมิ     คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ข้อมูลทุติยภูมิ     หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้วบางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศไปแล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่ได้ไปสำรวจเอง ตัวอย่างเช่นข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่มีผู้ทำไว้อาจเป็นหน่วยราชการตลอดจนได้มาจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ  ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลคุณสมบัติของข้อมูล

ข้อมูลที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

1. ความถูกต้อง      

2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน    
3. ความสมบูรณ์ 
4. ความชัดเจนและกระทัดรัด         
5.ความสอดคล้อง

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ                 

        การจัดทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและการดูแลสารสนเทศ อาจเป็นข้อ ๆ ดังนี้1.การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล         
2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ   
3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

           ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูล ต้องเก็บข้อมูลให้มากพอ และทันต่อเวลาการตรวจสอบข้อมูล  ข้อมูลที่เก็บมาต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง ให้มีความเชื่อถือได้ วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสม ถ้าพบข้อผิดพลาดของข้อมูลต้องแก้ไข ข้อมูลที่จะนำไปใช้หรือเก็บบันทึกไว้ต้องถูกต้อง

การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

        การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วย1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล       

2. การจัดเรียงข้อมูล  
3. การสรุปผล       
 4. การคำนวณ

การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

           อาจประกอบด้วย1. การเก็บรักษาข้อมูล              
2. การค้นหาข้อมูล
3. การทำสำเนาข้อมูล               
4. การสื่อสาร

การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

          อาจแบ่งตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผลได้เป็น 2 แบบ คือ
1. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
เป็นการประมวลผลแบบที่ข้อมูลวิ่งจากปลายทางไปยังเครื่องที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบนี้เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด เช่น การจองตัวเครื่องบิน การเบิกเงินจากเครื่อง เอทีเอ็ม ฯลฯ2. การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
เป็นการประมวลผลเป็นครั้ง ๆ  โดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนเมื่อต้องการผลก็นำข้อมูลมาประมวล การทำโพลสำรวจ

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและความปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม                คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
กรอบความคิดเรื่องจริยธรรมหลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
  • ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
  •  สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา                ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
  • การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
  • การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
  • การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
  • การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)
การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
  • การควบคุมอินพุท
  • การควบคุมการประมวลผล
  • การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
  • การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
  • การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
  • การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
  • การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
  • การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
  • แผนการป้องกันการเสียหาย
  • ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
  • ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
  • การแปลงรหัส (Encryption)
  • กำแพงไฟ (Fire Walls)
  • การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
  • การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls rig? � < s P� @� lang=TH style=’font-size:8.5pt;font-family:”Angsana New”,”serif”;mso-ascii-font-family: Verdana;mso-fareast-font-family:”Times New Roman”;mso-hansi-font-family:Verdana; color:black’>ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
  • การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
  • การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
  • การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
  • การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)
จริยธรรมกับสังคมยุคสารสนเทศ
ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ประเด็นคือ
œ ความเป็นส่วนตัว
(Information Privacy)
œ ความถูกต้องแม่นยา
(Information Accuracy)
œ ความเป็นเจ้าของ
(Information Property)
œ การเข้าถึงข้อมูล
(Information Accessibility)
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
ประเภทของผู้กระทำกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
แฮคเกอร์ (Hacker) นั้นมีความหมายอยู่ 2 แบบ โดยส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงคำคำนี้จะเข้าใจว่า หมายถึง บุคคลที่พยายามที่จะเจาะเข้าระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ในอีกความหมายหนึ่งซึ่งเป็นความหมายดั้งเดิม จะหมายถึง ผู้ใช้ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายหรือในด้านลบ เช่น สำรวจเครือข่ายเพื่อตรวจหาเครื่องแปลกปลอม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการที่เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
  • ระดับความชำนาญ => แฮคเกอร์ (Hacker) มีความรู้ความชำนาญสูงทั้งในการใช้คอมพิวเตอร์ และการเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  • แรงจูงใจ => เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงระบบให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • เป้าหมายของการโจมตี => แล้วแต่ที่แฮคเกอร์ (Hacker) ติดตามหรือสนใจ

แคร็คเกอร์ (Cracker) คือบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์พยายามที่จะเจาะเข้าระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต และอาศัยช่องโหว่หรือจุดอ่อนเพื่อทำลายระบบ
  • ระดับความชำนาญ => แครร็คเกอร์ (Cracker) มีความรู้ความชำนาญสูงทั้งในการใช้คอมพิวเตอร์ และการเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  • แรงจูงใจ => แข่งขันกับผู้อื่นเพื่อแสดงความสามารถในการทำลายระบบ แคร็คเกอร์ (Cracker) จะภูมิใจถ้าเขาสามารถเจาะเข้าระบบได้มากกว่าผู้อื่น
  • เป้าหมายของการโจมตี => แล้วแต่ที่แคร็คเกอร์ (Cracker) ติดตามหรือสนใจ

สคริปต์คิดดี้ส์ (Script – Kiddies) คือแฮคเกอร์ (Hacker) หรือ แฮคกิง (Hacking) ประเภทหนึ่งมีจำนวนมากประมาณ 95 % ของแฮคกิง (Hacking) ทั้งหมด ซึ่งยังไม่ค่อยมีความชำนาญ ไม่สามารถเขียนโปรแกรมในการเจาะระบบได้เอง อาศัย Download จากอินเทอร์เน็ต
  • ระดับความชำนาญ => สคริปต์คิดดี้ส์ (Script – Kiddies) มีความรู้ความชำนาญต่ำ
  • แรงจูงใจ => เพื่อให้ได้การยอมรับหรือต้องการที่จะแสดงความรู้ความสามารถ
  • เป้าหมายของการโจมตี => แล้วแต่ที่สคริปต์คิดดี้ส์ (Script – Kiddies) ติดตามหรือสนใจ ส่วนมากเป็นผู้ใช้งานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  • ระดับความรุนแรง => มีอันตรายมาก ส่วนใหญ่เป็นเด็ก มีเวลามาก ใช้เวลาในการทดลอง และมักไม่เข้าใจในเทคโนโลยีที่ตัวเองใช้โจมตีว่าจะสร้างความเสียหายมากน้อยขนาดไหน

สายลับทางคอมพิวเตอร์ (Spy) คือบุคคลที่ถูกจ้างเพื่อเจาะระบบและขโมยข้อมูล โดยพยายามไม่ให้ผู้ถูกโจมตีรู้ตัว
  • ระดับความชำนาญ => สายลับทางคอมพิวเตอร์ (Spy) มีความรู้ความชำนาญสูงมากทั้งในการใช้คอมพิวเตอร์ และการเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  • แรงจูงใจ => เพื่อมให้ได้มาซึ่งเงิน
  • เป้าหมายของการโจมตี => การโจมตีมีความเฉพาะเจาะจงตามที่ถูกจ้าง

พนักงาน (Employee) คือ พนังงานภายในองค์กร หรือเป็นบุคคลลภายในระบบที่สามารถเข้าถึงและโจมตีระบบได้ง่าย เพราะอยู่ภายในระบบ
  • ระดับความชำนาญ => มีระดับความชำนาญหลากหลายระดับ แล้วแต่ผู้โจมตีแต่ละคนนั้นจะชำนาญด้านไหน
  • แรงจูงใจ => อาจมีแรงจูงใจจาก
1. แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีจุดอ่อน
2. แสดงความสามารถของตัวเองเนื่องจากถูกประเมินค่าต่ำเกินไป หรืออาจเกิดความไม่พอใจในการพิจารณาผลงาน
3. ผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น ถูกจ้างจากคู่แข่ง
  • เป้าหมายของการโจมตี => ระบบขององค์กรที่ตนเองได้ทำงานอยู่

ผู้ก่อการร้าย (Terroist) คือกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่มีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ภยันตราย แก่บุคคลอื่น หรือองค์กรต่างๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จริยธรรมและความปลอดภัย
  • เป้าหมายของการโจมตี => เป้าหมายไม่แน่นอน อาจเป็นระบบเล็กๆ หรือขนาดใหญ่ เช่น ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้า
  • ระดับความชำนาญ => ความชำนาญสูง คาดเดาวิธีการได้ยาก
  • แรงจูงใจ => เพื่อก่อการร้าย

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)

ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกะทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูก ๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่น ๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)

โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอ ๆ กับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)

เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คและเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ไม่มีไดรฟ์สำหรับอ่านและเขียนแผ่น และใช้ฮาร์ดดิสแบบ SSD ทำให้น้ำหนักเบา ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม

อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook)

อัลตร้าบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมีขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ และน้ำหนักเบากว่าโน้ตบุ๊ค และเน้นความสวยงาม ทันสมัย แปลกใหม่

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของคอมพิวเตอร์


ความหมายของคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสาจนถึงเครื่องบินบังคับผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่5 การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารได้สร้างประโยชน์อย่างมากต่อวงการธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีการลงทุนขยายขอบเขตการให้บริการโดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น กลไกเหล่านี้ทำให้โอกาสการขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นตามไปด้วย การเชื่อมโยงเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้สังคมโลกเป็นสังคมแบบไร้พรมแดน การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต มีอัตราการขยายตัวสูงมาก

  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการแพร่ขยายตัวอย่างเร็ว จนมีความสามาถในการใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลง ผลของการพัฒนานี้ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง

    สหรัฐอเมริกาเป็นประเทสหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ในอดีตประเทศ    สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรม   ต่อมามีการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตประเทศอุตสาหกรรม โครงสร้างการผลิตของสหรัฐอเมริกาเน้นไปที่ธุรกิจบริการการใช้สารสนเทศกันมาก

     หากพิจรณาการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารทั่วไปของโลก ปัจจุบันมูลค่าสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าสนใจคือพัฒนาแล้ว 10 ประเทศ คือ
ได้แก่    สหรัฐอเมริกา สิงค์โปร ฟินแลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไอซ์แลนด์ สวีเดน แคนนาดา และสวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากถึงกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณการใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก

    ถ้าพิจรณาบริษัทผู้ผลิตสินค้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า ประเทสผู้ผลิตเพื่อส่งออกมีเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลก ประเทสเหล่านี้ส่วนมากมีเทคโนโลยีของตนเอง

   ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ทำให้อุปกรณ์ต่างๆมีขนาดเล็กลงแต่มีความสามรถเพิ่มขึ้น และมีราคาถูกจนผู้ที่สนรใจสามารถซื้อมาใช้ได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ